การท่าเรือแห่งประเทศไทย กำหนดให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการให้บริการตู้สินค้า (มีผล 1/4/64)

ตามประกาศการท่าเรือแห่งประเทศไทย กำหนดให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการให้บริการตู้สินค้า นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 และข้อ 13 ของระเบียบการท่าเรือแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่างๆ พ.ศ. 2544 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494  โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 รายละเอียดตามเอกสารแนบ

สรุปความคืบหน้าสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 30 มีนาคม 2564)

สรุปความคืบหน้าสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 30 มีนาคม 2564) ล่าสุดเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 29 มีนาคม 2564 ตามเวลาท้องถิ่น มีรายงานจาก CEO ของ Dutch Salvage Company ซึ่งเป็นทีมที่ร่วมปฏิบัติการกู้เรือ แจ้งความสำเร็จในการเคลื่อนย้ายเรือ Ever Given ออกจากตำแหน่งที่เกยตื้น โดยขณะนี้เรือ Ever Given สามารถกลับมาลอยลำได้ตามปกติ และย้ายออกจากตำแหน่งที่ขวางบริเวณคลองสุเอซเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งขณะนี้เรือถูกลากไปยัง Great Bitter Lake เพื่อรอตรวจสอบความปลอดภัย  ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทางการอียิปต์คาดว่า เรือที่ติดค้างจำนวนหลายร้อยลำที่รอการผ่านคลองสุเอซ จะสามารถเคลียร์ได้ภายใน 3 วัน… Read More

สรุปความคืบหน้าสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 29 มีนาคม 2564)

สรุปความคืบหน้าสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 29 มีนาคม 2564) เรือ Ever Given สามารถกลับมาลอย ได้อีกครั้ง  สำนักข่าว BBC รายงานเมื่อเวลา 12.17 น. ว่าทีมกอบกู้เรือ Ever Given  ที่จอดขวางคลองสุเอซ ให้กลับมาลอยได้อีกครั้ง หลังจากที่เรือเกยตื้นมากว่า 6 วัน  โดยผู้กู้ได้ใช้วิธีขุดเจาะทราย ปริมาตรราว 27,000 ลูกบาศก์เมตร ออกไปบริเวณริมฝั่งคลองที่ติดกับตัวเรือ จนเรือกลับมาลอยน้ำได้สำเร็จ และพยายามที่จะใช้เรือลากเพื่อหมุนหัวเรือให้กลับมาสู่เส้นทางการเดินเรืออีกครั้ง ทั้งนี้ แม้ว่าจะกลับมาลอยได้อีกครั้ง ก็ยังต้องใช้เวลาเพื่อให้เส้นทางเดินเรือจะกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากมีเรือมากกว่า 450 ลำยังติดอยู่ในเส้นทางดังกล่าว  อย่างไรก็ตาม… Read More

สรุปความคืบหน้าสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 28 มีนาคม 2564)

สรุปความคืบหน้าสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 28 มีนาคม 2564) จากเหตุการณ์เรือ Ever Given เกยตื้น และขวางคลองสุเอซ ขณะนี้มีการดำเนินการเพื่อเร่งเคลื่อนย้ายเรือลำดังกล่าวออก โดยทีมกู้เรือเริ่มปฏิบัติการขุดลอกตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ประธานของ The Suez Canal Authority ให้ข้อมูลเมื่อวานนี้ (27 มีนาคม 2564) ว่าได้มีการดำเนินการระบายน้ำอับเฉาออกจากเรือจำนวนกว่า 9,000 ตัน เพื่อทำให้เรือมีน้ำหนักเบาขึ้น โดยมีอุปสรรคในเรื่องของลม และกระแสน้ำ ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะสามารถทำให้แล้วเสร็จได้เมื่อใด โดยในขณะนี้ มีเรือที่ติดค้างในคลอง และบริเวณทะเลสาบใกล้เคียงกว่า 321 ลำ นอกจากนี้ ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานของ… Read More

สรุปสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 27 มีนาคม 2564)

สรุปสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 27 มีนาคม 2564) รายชื่อเรือบรรทุกสินค้าคอนเทนเนอร์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ ตัวแทนของ Suez Canal Leth Agencies ได้ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีเรือ 156 ลำกำลังรอการขนส่งข้ามคลอง โดยเรือ 48 ลำรออยู่ที่ Port Said และมีเรืออีกจำนวน 38 ลำได้รอคอยในบริเวณจุดกึ่งกลางทะเลสาบ Great Bitter และอีก 70 ลำที่ได้มีการทอดสมอที่ท่าเรือ    สุเอซ โดยแหล่งข่าวของ Ocean Insight ได้มีการเปิดเผยรายชื่อเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์… Read More

สรุปสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 26 มีนาคม 2564)

สรุปสถานการณ์ปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ (วันที่ 26 มีนาคม 2564) เรือ Ever Given ซึ่งถือธงประเทศปานามา เป็นเรือสินค้าขนาด 220,000 ตัน โดยขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียและยุโรป แล่นเข้าคลองสุเอซเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้เกยฝั่งและเกิดการขยับของตัวเรือจนขวางลำคลองไว้จนมิดซึ่งบริษัท เอฟเวอร์กรีน มารีน คอร์ป (Evergreen Marine Corp) ของไต้หวัน ซึ่งเป็นบริษัทดูแลการแล่นเรือลำนี้ระบุว่า เรือถูกลมแรงพัดกระหน่ำตั้งแต่แล่นจากทะเลแดงเข้ามาในคลอง ซึ่งเรือ Ever Given ออกเดินทางมาจากท่าเรือเมืองหนิงโป ทางภาคตะวันออกของจีนเมื่อ 4 มีนาคม และกำหนดถึงปลายทาง ท่าเรือเมือง… Read More

กทท. ลดค่าภาระตู้สินค้าเปล่า 3 เดือน แก้ตู้คอนเทเนอร์ขาดแคลน

ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลายลงในหลายประเทศ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้รับทราบข้อมูลปัญหาปริมาณระวาง และปริมาณตู้สินค้าไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก จากสมาชิกผู้ส่งออก และได้นำเสนอประเด็นปัญหาดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะการดำเนินการเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ และผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหา ไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย 1) กระทรวงคมนาคม 2) กระทรวงพาณิชย์ และ 3) สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เพื่อเข้ามาตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยล่าสุด การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้ออกมาตรการจูงใจลดค่าภาระตู้สินค้าเปล่า อัตรา 1,000 บาทต่อทีอียู ท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ดือน มกราคม – มีนาคม 2564 เพื่อแก้ไขปัญหาตู้คอนเทเนอร์ขาดแคลน… Read More

กรมการขนส่งทางบก ออกประกาศ เรื่อง มาตรการปฏิบัติเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีการเข้า-ออก พื้นที่ควบคุมสูงสุด

กรมการขนส่งทางบก ออกประกาศ เรื่อง มาตรการปฏิบัติเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีการเข้า-ออก พื้นที่ควบคุมสูงสุด           ตามที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แบ่งพื้นที่ตามสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงไปถึงความเสี่ยงต่ำ เพื่อใช้มาตรการควบคุมโรค ซึ่งมีความเข้มงวดในการควบคุมกิจกรรมแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ 1. พื้นที่ควบคุมสูงสุด เป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและมีมากกว่า 1 พื้นที่ 2. พื้นที่ควบคุม เป็นพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3. พื้นที่เฝ้าระวังสูง เป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 ราย แต่มีแนวโน้มสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ 4. พื้นที่เฝ้าระวัง เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ และยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)           ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปด้วยความเหมาะสม… Read More

ประกาศและแนวทางการปฏิบัติสำหรับการขนส่งสินค้าข้ามเขต ในช่วงการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 มกราคม 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) จำนวน 4 ข้อ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม พศ. 2564 เป็นต้นไป และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้           ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นคราว ๆ ออกไปอย่างต่อเนื่องนั้นเพื่อกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการระงับยับยั้งการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งระบาดในหลายเขตพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อการสกัดและยับยั้งการแพรระบาดอย่างรวดเร็ว… Read More

[6-1-2564] การดำเนินการของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 6  มกราคม 2564 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชยช์ และได้หารือนอกรอบ ร่วมกับอธิบดีกรมการค้าภายใน เพื่อนำเรียนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ส่งออกในหลายอุตสาหกรรมประสบอยุ่ ณ ขณะนี้ โดยผลการประชุมดังกล่าว ได้มีข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ 1.  สรท. ได้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2021 ประเทศไทยจะขาดตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการส่งออกประมาณ  65,000 TEUs/เดือน ซึ่งแบ่งเป็นตู้ขาเข้าที่บรรจุสินค้านำเข้าจำนวน 20,000 TEUs/เดือน และเป็นการนำเข้าตู้เปล่าที่เพิ่มเติม 45,000 TEUs/เดือน (เป็นจำนวนตู้เปล่า ที่ต้องนำเข้ามาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการที่สายเรือ มีการนำเข้าตู้เปล่า เข้ามาเป็นปกติอยู่แล้วในแต่ละเดือน) 2.  สรท. ได้นำเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ปัญหาใน 2 ประเด็นคือ 2.1    ภาครัฐ ควรสนับสนุนให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20,000 ตู้/เดือน เพื่อให้มีตู้หมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้น เพียงพอสำหรับภาคส่งออก  พร้อมทั้งขอให้พิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้นำเข้า ให้สามารถนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น 2.2    จากปัญหาค่าระวางของการส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ณ… Read More