ตีโจทย์การพัฒนาธุรกิจใหม่: ผสานศักยภาพ Ai และ Expertise เพื่อสร้างหน่วยธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน

LiB Consulting เผย 6 ขั้นตอนการพัฒนาธุรกิจใหม่ ร่วมกับการใช้ Ai สนับสนุนการสร้างโมเดลธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบรับทุกการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจปัจจุบันกำลังเกิดขึ้นด้วยอัตราเร่งที่รวดเร็ว ซึ่งคำว่า “Business Disruption” ได้ถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลาหลายปีและกำลังส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมในปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อย ในยุคแห่ง “AI Disruption” ที่ปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามามีบทบาทในการทำงานของเราทุกคน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจชั้นนำในปัจจุบันยังใช้ AI มาสนับสนุนการวิเคราะห์และสร้างฉากทัศน์ธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปสู่การสร้างโมเดลและกลยุทธ์ธุรกิจสู่ความสำเร็จต่อไป โดย LiB Consulting เป็นหนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้ความสามารถของ AI มาสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญของบริษัทในการสร้างสรรค์หน่วยธุรกิจใหม่ให้แก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ  กรณีศึกษาการใช้ AI วิเคราะห์ขีดความสามารถการแข่งขันและแนวทางธุรกิจใหม่ บริษัทแห่งหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจการผลิตยางรถยนต์ ต้องการทำธุรกิจใหม่โดยใช้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ ทว่า ยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ดังนั้น LiB Consulting จึงใช้… Read More

ผลการสำรวจและจัดทำดัชนีตัวชี้วัดด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2563 Thailand Digital Outlook 2020 โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 คุณสมบัติ เปรมประภา รองประธานสรท. ได้เข้าร่วมงานสัมมนา “การสำรวจและจัดทำดัชนีตัวชี้วัดด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2563 Thailand Digital Outlook 2020” ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 2 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยมีคุณวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เป็นประธาน ทั้งนี้ สดช.ได้นำเสนอผลการดำเนินโครงการ Thailand Digital Outlook ระยะที่ 2 ที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสำรวจและศึกษาสถานภาพปัจจุบันด้านการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทย… Read More

ข้อเสนอแนะการพัฒนาแพลตฟอร์ม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B Cross Border e-Trading Platform)

Download (รายงานฉบับเต็ม) บทสรุปผู้บริหาร การเติบโตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกหรืออีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมูลค่าของตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มเติบโตสูงสุดประมาณร้อยละ 27 ภายในปี ค.ศ. 2019 โดยเฉพาะการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ข้อมูลของ UNCTADปี ค.ศ. 2017 ระบุว่า ประเทศที่เป็นสมาชิก UNCTADมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของยอดขายของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีมูลค่าถึง 25.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็น 22.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business: B2B) และ 2.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to-Customer: B2C) โดยมีจีนเป็นประเทศที่มีมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภคมากที่สุดถึง 617 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับธุรกิจมากที่สุดถึง 6,443 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ด้านการเติบโตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับธุรกิจภายในประเทศ สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ให้ข้อมูลว่า มูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี พ.ศ. 2560 มีประมาณ 2,812,592.03 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 9.86ซึ่งส่วนใหญ่… Read More