แก้ปัญหาฝุ่นpm2.5! นายกฯสั่งพิจารณาการย้ายทำเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ออกหนังสือเวียน ถึง กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในการย้ายท่าเรือออกจากคลองเตย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 นายกรัฐมนตรี เสนอว่า เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตังกล่าว รวมทั้งประชาชนชาวกรุงเทพในภาพรวม ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ที่กำหนดให้พิจารณาการย้ายทำเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงขอมอบหมายการดำเนินการ ดังนี้ ทั้งนี้ ให้จัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ชัดเจน เหมาะสม และแล้วเสร็จโดยเร็ว โดยควรใช้พื้นที่นี้เพื่อประโยชน์สาธารณะของชาวกรุงเทพฯ เป็นสำคัญ แล้วให้รายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ ในการนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย จึงขอรบกวนท่านช่วยตอบแบบสอบถาม การสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว โดยสามารถสแกน QR-Code… Read More

วิกฤติทะเลแดง – ระยะยาวจะเป็นอย่างไรหากสันติภาพไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน

อัพเดทสถานการณ์ทะเลแดง 24 มกราคม 2024 เปิดมาเดือนแรกของปี ดูเหมือนงานขนส่งทางทะเลปีนี้จะไม่ง่ายและราบลื่นดีนัก เมื่อต้องเผชิญกับหลายขวากหนามคอยทิ่มแทง ทั้งคลองปานามายังมีปัญหากับระดับน้ำ จีนก็เร่งส่งออกก่อนตรุษจีน และแน่นอนว่าวิกฤติทะเลแดงกับการโจมตีเรือสินค้าต่อเนื่องของกลุ่มติดอาวุธฮูตีที่ดูว่าจะไม่จบลงอย่างง่ายดายนัก โดยตั้งแต่เริ่มมีการโจมตีระลอกแรกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 และมาโจมตีอีกระลอกตั้งแต่ในต้นเดือนมกราคม 2024 ผู้ให้บริการสายเรือต้องเลือกเดินเรืออ้อมไปครึ่งโลกเพื่อความปลอดภัย ผลักภาระค่าใช้จ่ายมาตกกับผู้ขนส่ง ส่งผลลุกลามต่อไปยังห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ณ ปัจจุบัน พบว่าค่าระวางจากจีนไปยุโรป สำหรับตู้ Container ขนาด 40 ฟุต พุ่งแตะที่หลัก 10,000+ เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ก่อนจะมีการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธฮูตี อยู่ที่ประมาณ 1,500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าอัตราค่าระวางออกจากบ้านเราไปยุโรปจะไม่ได้ราคาแรงเท่า โดย Spot Rate ใน Weekly Report… Read More

Freight Management Guideline ข้อแนะนำผู้ส่งออก

TNSC ประชุมร่วมกรมการค้าภายใน หาทางออกสถานการณ์ทะเลแดง เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เรียนเชิญกลุ่มสายเรือ ถกประเด็นเร่งหาทางออกจากผลกระทบความไม่สงบในทะเลแดง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากข้อเสนอ Solutions ของ สรท. 5 ข้อจากการหารือร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การหารือร่วมกันในครั้งนี้ยังได้ตกผลึกข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับผู้ส่งออกดังนี้ อย่างไรก็ตาม แม้ในตอนนี้ภาพรวมสถานการณ์จะดีขึ้น เริ่มมีสายเรือเริ่มกลับมาให้บริการในเส้นทางเดิมมากขึ้น แต่ด้วยเป็นสถานการณ์ที่มีการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงคาดการณ์ต่อได้ยากมาก อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหันเมื่อไหร่ก็ได้ สรท.แนะนำให้ผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องโดยตรงคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

5 Solutionsทะเลแดง บรรเทาผลกระทบผู้ส่งออก

(อัพเดทสถานการณ์ทะเลแดง 12 มกราคม 2024) หลังจากการโจมตีระลอกใหม่กลับมาต่อเนื่อง หลายสายเรือต้องระงับการให้บริการในเส้นทางอีกครั้ง ความตึงเครียดทางการเมืองในพื้นที่ก็ยังร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ TNSC จึงได้เข้าร่วมการประชุมหารือหาทางบรรเทาและแก้ไขปัญหา ซึ่งนับว่าต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 แล้ว นับจากมีการปะทะในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยมีกระทรวงพาณิชย์เป็นแกนหลัก ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แน่นอนว่ารวมถึงกลุ่มสายเรือด้วยเช่นกัน จึงได้ถือโอกาสเน้นย้ำถึงข้อเสนอให้สายเรือร่วมมือ 5 ข้อ ดังนี้ ในการประชุมแม้จะไม่ได้มีตัวแทนจากกลุ่มสายเรือทุกสายเรือ แต่ก็มีจำนวนมากรายพอให้อัปเดตและแลกเปลี่ยนสถานการณ์ระหว่างกัน และสายเรือที่เข้าร่วมประชุมเองก็ยังได้ให้คำมั่นว่าจะดูแลลูกค้าอย่างเป็นธรรม (ตามข้อเรียกร้องของ TNSC ข้อที่ 1-2 และ 5) และได้เพิ่มจำนวนเรือเข้ากองเรือ เพื่อให้สามารถบริการได้เป็นรายสัปดาห์ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติ (ตามข้อเสนอข้อที่ 4) แต่ในด้านการเจรจาเพิ่ม Free Time กับท่าเรือในพื้นที่นั้นอาจจะต้องลุ้นกันอยู่ เนื่องจากการปฎิบัติงานของแต่ละท่าก็มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งเคลียสินค้าออก… Read More

ทะเลแดงใกล้เป็นทะเลเดือด – เมื่อการโจมตีเรือสินค้ากลับมาอีกครั้ง

หลังจากทะเลแดงได้สัมผัสกับความเงียบสงบอีกครั้ง ด้วยไม่มีรายงานการโจมตีหรือพยายามโจมตีเรือสินค้าจากกลุ่มติดอาวุธฮูตีในช่องแคบอีกเลย ตั้งแต่ในช่วงวันที่ 19 ธันวาคม จนก่อนถึงวันขึ้นปีใหม่ ทว่าราวว่าเป็นแผนที่วางเอาไว้ กลุ่มฮูตีโจมตีเรือของ Maersk ในวันขึ้นปีใหม่พอดิบพอดี นี่นับเป็นข่าวร้ายของ Shippers ทั่วโลก เพราะนอกจากจะรู้ตัวว่าหลังจากงานเลี้ยงฉลอง จะต้องเจอกับปัญหาสารพัดน่าปวดหัวแล้ว การโจมตีครั้งนี้ยังส่อแววให้เห็นว่าโอกาสที่ความไม่สงบนี้จะลุกลามนั้นนับได้ว่า “ค่อนข้างสูง” เลยทีเดียว เช้าตรู่วันที่ 31 ธันวาคม 2023 เรือ Maersk Hangzhou เดินเรือผ่านช่องแคบ Bab al-Mandab มุ่งหน้าสู่คลองสุเอซ ถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธ และมีเรือไม่ระบุสัญชาติขนาดเล็ก 4 ลำพยายามโจมตีและขึ้นเรือ โดยสหรัฐอเมริกาตอบโต้ทันควันด้วยการส่ง Helicopters จากเรือรบบริเวณใกล้เคียง จมเรือได้ 3 ลำ สังหารกลุ่มฮูตีนับ… Read More

อัพเดทสถานการณ์ทะเลแดง 27 ธันวาคม 2023

อัพเดทสถานการณ์ทะเลแดง 27 ธันวาคม 2023

ในปี 2023 นี้ ภาพรวมการส่งออกของไทยไม่ค่อยเติบโตอย่างที่คาดหวังนัก มิหนำซ้ำยังต้องเจอกับความท้าทายจากเหตุความไม่สงบในทะเลแดงและช่องแคบ Bab al-Mandab เมื่อมีการโจมตีเรือสินค้าหลายครั้งโดยกลุ่มติดอาวุธฮูตี ตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ส่งผลให้สายเรือจำต้องระงับให้บริการในเส้นทางเพื่อความปลอดภัย ต้องเปลี่ยนแปลงเส้นทางของเรือกว่า 100 ลำ ต้องเสียเวลาเพิ่มประมาณ 10-15 วัน และแน่นอนว่าผู้ส่งออกเองก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 4,000 USD ต่อตู้ 40’ รวมไปถึง Surcharges จากการประกันภัยหรือค่าเสี่ยงภัยสงคราม โดยสำหรับเหตุการณ์ในปัจจุบัน สามารถมองภาพรวมได้เป็นสองมุม สำหรับภาพรวมในมุมเชิงลบ เมื่อ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา มีการโจมตีเรือน้ำมันลำหนึ่งนอกชายฝั่งปากีสถาน บริเวณ Arabian Sea ระหว่างการขนส่งไปยังปลายทางที่อินเดีย (เชื่อว่ากระทำโดยอิหร่าน) ซึ่งถือเป็นการโจมตีนอกช่องแคบ Bab al-Mandab เป็นครั้งแรกนับแต่การโจมตีของกลุ่มฮูตีในเดือนพฤศจิกายน… Read More

สรุปเหตุการณ์ กลุ่ม Houthi โจมตีเรือเดินสมุทร

สถานการณ์ กลุ่มกบฏฮูตี (Houthi) โจมตีเรือเดินสมุทร โดยเฉพาะเรือที่ขนส่งน้ำมัน ที่ใช้เส้นทางคลองสุเอซ โดยมุ่งเป้าเรือที่มุ่งหน้าสู่อิสราเอล เพื่อตอบโต้เหตุสงครามในฉนวนกาซา ข้อมูลเพิ่มเติม ผลกระทบ ผลกระทบต่อการขนส่งของไทย ปัจจัยบวก

Opportunity and Threat for Intra ASEAN Logistics (Thai – Vietnam) ตอนที่ 1
เส้นทางสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศและด่านชายแดนสำหรับการขนส่งสินค้า ไทย เวียดนาม

Opportunity and Threat for Intra ASEAN Logistics (Thai – Vietnam) ตอนที่ 1เส้นทางสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศและด่านชายแดนสำหรับการขนส่งสินค้า ไทย เวียดนาม เวียดนามอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) มีชายฝั่งทะเลยาว 3,200 กิโลเมตร เวียดนามจึงใช้การขนส่งทางทะเลเป็นหลักในการทำการค้าระหว่างประเทศ ภาคใต้ เป็นศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่พัฒนามาก่อนภาคเหนือ นครโฮจิมินห์จึงเป็นท่าเรือหลักในการขนส่งสินค้าและธุรกิจโลจิสติกส์ของเวียดนาม ภาคเหนือ ของเวียดนามเติบโตมากขึ้น เนื่องจากมีการค้าขายกับประเทศจีนเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งมีการลงทุนของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ เช่น บริษัท Samsung บริษัท Microsoft บริษัท Panasonic และบริษัท Bridgestone ธุรกิจโลจิสติกส์ของภาคเหนือจึงพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองภาคการผลิตและการค้า ภาคกลาง ของเวียดนามมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล เช่น… Read More

[UPDATE] ระบบการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าของสินค้า (Advance Cargo Information System: ACID) สำหรับสินค้าที่นำเข้ามายังสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์

ระบบการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าของสินค้า (Advance Cargo Information System: ACID) สำหรับสินค้าที่นำเข้ามายังสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ “อียิปต์กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าทุกรายการแจ้งข้อมูลก่อนการนำเข้า ผ่านระบบการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าของสินค้าที่จะนำเข้า (Advance Cargo Information System : ACI) เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินพิธีการศุลกากร โดยจะเริ่มทดลองใช้ระบบดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 และบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป” กระทรวงการคลังของอียิปต์ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 38/2021 กำหนดให้ผู้นำเข้าต้องแจ้งข้อมูลสินค้าทุกรายการล่วงหน้าก่อนการนำเข้าภายใต้ระบบ ACI ผ่าน Nafeza Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการดำเนินการด้านการค้า การทำธุรกรรม และการรับ-ส่งเอกสารให้กับผู้นำเข้า โดยในส่วนของผู้นำเข้ามีขั้นตอนการดำเนินการก่อนนำเข้าสินค้า ดังนี้… Read More

แจ้งความคืบหน้าการดําเนินงานของสภาผู้ส่งออก ในการแก้ปัญหาการขนส่งสินค้าทางทะเล

สืบเนื่องจาก ในช่วงที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้รับทราบประเด็นปัญหาของการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และส่งผลกระทบต่อภาคการค้า และการส่งออกของท่านสมาชิกใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ปัญหาสภาพการจราจรหนาแน่นในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ความแออัดของการขนส่งภายในท่า ปัญหาความล่าช้าของเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า และประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง (2) การเรียกเก็บค่า B/L Fee เพิ่มเติมของสายเรือ Mediterranean Shipping Company (MSC) จากอัตราเดิมที่เรียกเก็บอยู่ที่1,000 บาท/BL ปรับเพิ่มเป็น 2,000/BL สำหรับกรณีส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และปรับจาก 1,700 บาท/BL เป็น 3,000 บาท/BL สำหรับกรณีส่งข้อมูลแบบ Manual ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ใคร่ขอแจ้งให้ท่านสมาชิกทราบว่า เมื่อ สรท. ได้รับทราบประเด็นปัญหาจากท่านสมาชิก… Read More