คณะกรรมการสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย วาระปี 2566-2567 จัดประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 โดยมีวาระสำคัญในการเลือกประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ที่ประชุมคณะกรรมการ สรท. มีมติเป็นเอกฉันท์มอบความไว้วางใจให้ ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมัยที่ 2 (วาระปี 2566-2567) โดยหลังจากได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธาน สรท. สมัยที่ 2 ดร.ชัยชาญ ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุม โดยเน้นความต่อเนื่องจากนโยบาย Click to Go สู่ “Click to Global” ต่อยอดและสร้างโอกาสทางการค้าเชื่อมโยงองค์กรสู่ Global ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างนักรบการค้า เพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกและผู้ส่งออกไทยในทุกมิติ ก้าวสู่ Digital Trading Nation โดยมีภารกิจหลัก 3 ด้าน ดังนี้

Strategic Competitive Global Trade

  • ผลักดันการขยายตลาดใน 3 ตลาดหลัก ได้แก่ CLMV ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ส่งออกทดแทนตลาดเดิมที่ยังมีความไม่แน่นอน
  • รวบรวม วิเคราะห์และนำเสนอประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกพร้อมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
  • ผลักดันการเจรจาเขตการค้าเสรีเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่คุณค่าของแต่ละอุตสาหกรรม / ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับ Non-Tariff Barrier อาทิ CBAM, Decarbonization , Carbon Credit ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทย
  • ผลักดันการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคทางการค้า อาทิ การถ่ายลำ (Transhipment) โดยจะผลักดันการทำ Sand Box ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น
  • การส่งเสริมการขยายตลาดของสมาชิกผ่านโครงการ SMEs Pro-active ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

Global Logistics and International Trade Facilitation

  • การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงการค้า (Logistics Infrastructure) พัฒนาไปสู่ Multimodal Transportation (MTO)
  • แก้ปัญหาด้านการขนส่งผ่านศูนย์ระงับข้อพิพาทด้าน Logistics (TLAC) ภายใต้สถาบันอนุญาโตตุลาการ เพื่อยุติข้อพิพาทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Logistics ระหว่างผู้ส่งออก สายเรือ หรือผู้ให้บริการ Logistics ต่างๆ
  • ผลักดันการสร้างมาตรฐานการให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลภายใต้ค่าบริการที่สมเหตุสมผลและเป็นธรรม (Services Quality / Fair trade freight cost and other extra maritime cost)
  • ผลักดันการใช้มาตรฐานพาเลทเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศสมาชิก Asia Pallet System Federation: APSF / การใช้ Returnable Box

Capacity Building

สร้างความต่อเนื่องในการ Upskill and Reskill ให้กับสมาชิกและผู้ประกอบการ ต่อยอดการจัดอบรมหลักสูตร LQSP ที่ก้าวสู่ปีรุ่นที่ 15 พร้อมจัดทำ Logistics Dictionary ที่ให้คำจำกัดความโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และศิษย์เก่า LQSP ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อให้สมาชิกและคนโลจิสติกส์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ มุ่งสร้าง “นักรบการค้า” และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจภายใต้หลักสูตร Top X ซึ่งประสบความสำเร็จและสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้จริง นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาหลักสูตรTraining Program for the Material Handling Equipment in Thailand ร่วมกับ Japan Institute of Material Handing (JIMH) และ Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหลักสูตร Internal Logistics ที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มหลักสูตรอบรมให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

เป้าหมาย (Key Challenges) ที่ สรท. ให้ความสำคัญและเร่งผลักดันในช่วง 2 ปีนับจากนี้ ได้แก่

3.1 Digital Trading Nation

3.2 Information flow ได้แก่ National Digital Trading Platform, National Single Window เป็นต้น

3.3 Capital flow การเพิ่มและเสริมสภาพคล่องในระบบห่วงโซ่อุปทาน

3.4 Multimodal transportation การขนส่งหลายรูปแบบ

3.5 Global trade connectivity

พันธกิจของ สรท. ปี 2566 – 2567 “Click To GLOBAL”

PurposeStrategic in Action (การดำเนินการ)
1. Digital EconomyNDTP / NSW / ASW / Port Community System
2. Seamless connectivity in ASEANMultimodal transportation
3. DecarbonizationCarbon Credit / CBAM / Green Logistics
4. Fair-Trade Freight CostBill of cargo right / Fair trade committee
5. Global Logistics Free flowTLAC (Thailand Logistics ADR Center) / Logistics standardization
6. Capacity buildingTOP-X (Top Executive) / LQSP (Logistics Qualification System Program/ MHE(Material Handling Equipment

“ภาคการส่งออกไทยฝ่าฟันอุปสรรคทางการค้าและแบกรับต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นแต่ก็ยังเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจากนี้เป็นต้นไปการทำให้ภาคการส่งออกไทยเติบโตหลังจากนี้ สรท.จะมุ่งส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งในด้านองค์กรและบุคลากรการเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลักดันให้เกิดการค้าที่เป็นธรรมลดอุปสรรคทางการค้า พัฒนาระบบเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องประสานกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้แผนงานต่างๆ เกิดเป็นรูปธรรม และแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก” ดร.ชัยชาญ กล่าวทิ้งท้าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *