สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ World Logistics Passport (WLP) เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและลดต้นทุนผู้ส่งออก โดย WLP มีเครือข่ายพันธมิตรมากกว่า 200 บริษัททั่วโลก ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนด้านการขนส่ง และสามารถใช้ศักยภาพระบบโลจิสติกส์ของดูไบที่เชื่อมโยงสนามบิน ท่าเรือ ระบบขนส่งทางถนนและรางเป็นประตูสู่ตะวันออกกลาง แอฟริกาและอเมริกาใต้ผ่านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ โดย สรท. และ WLP พร้อมเดินหน้าจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างโอกาสทางการค้าในตลาดใหม่ให้กับผู้ประกอบการไทยผ่านเครือข่ายของ WLP ทั่วโลก

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.30 – 16.00 น. ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และ Mr.Mahmood Al Bastaki, General Manager, World Logistics Passsport ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือเพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและลดต้นทุนให้กับผู้ส่งออกของไทยผ่านโครงการ World Logistics Passport (WLP) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยได้รับเกียรติจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างการเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ วันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2566 โดย สรท. และ WLP จะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ WLP ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ อาทิ 1) สร้างโอกาสทางการค้าในตลาดใหม่ผ่านเครือข่ายของ WLP ทั่วโลก อาทิ เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์และแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญทางการค้า และเข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับเครือข่ายผู้ประกอบการและภาครัฐที่เป็นสมาชิกของ WLP ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ 2) สร้างทางเลือกในการขนส่งสินค้ารูปแบบใหม่ อาทิ Sea-to-Air จากท่าเรือในประเทศไทย-ท่าเรือ Jebel Ali-ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ-ท่าอากาศยานประเทศปลายทาง เป็นต้น 3) ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานพันธมิตรของ WLP เมื่อเข้าเป็นสมาชิกของโครงการ อาทิ จะได้รับการบริการโหลดตู้สินค้าก่อน (Priority Handling) และ บริการอำนวยความสะดวก Fast Track Document Submission เมื่อใช้บริการทิฟฟาไอซีดีลาดกระบัง ได้รับส่วนลดค่าอบรมหลักสูตรที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานพันธมิตรของ WLP รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับผู้ส่งออกไทยในการทำการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยขยายตลาดการค้าและเพิ่มความมั่นใจตลอดการขนส่งจากต้นทางสู่ปลายทาง เป็นต้น

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ WLP ได้ที่ www.worldlogisticspassport.com

************************************

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ (คุณกฤชทัต) โทร. 02-6797-555 ต่อ 500

Email: [email protected], [email protected]

ข้อมูลเพิ่มเติม
Dubai Port World (DPW) เป็นบริษัทบริหารท่าเรือและธุรกิจโลจิสติกส์แบบครบวงจร ที่มีรัฐบาลดูไบเป็นเจ้าของ และมีความเชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้า การดำเนินงานท่าเรือ และเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมต่อทางการค้า  DPW ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศต่างๆ ด้านการให้บริการขนส่งสินค้าทั่วโลก เพื่อขยายเครือข่ายการให้บริการท่าเรือและโลจิสติกส์ให้ครอบคลุม และขับเคลื่อนประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานภายใต้โครงการต่างๆ มากมาย ซึ่งทำให้ดูไบมีศักยภาพในการเชื่อมโยงสินค้าจากทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นท่าเรือหลักของดูไบ คือ Jebel Ali จึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นเสมือนศูนย์กลางในการกระจาย และจัดการสินค้าไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง อินเดีย และแอฟริกา ดังนั้น ในส่วนของประเทศไทย อาจใช้โอกาสนี้ในการเสริมสร้างความร่วมมือกับ DP World เพื่อสนับสนุน       โลจิสติกส์ และการค้าในการเข้าถึงตลาดตะวันออกกลาง และแอฟริกาให้มากขึ้น

โครงสร้างพื้นฐานและ Capacity ของท่าเรือ Jebel Ali  (ที่มา DP world.com)
1.  Terminal 1 : Capacity 9 Million TEUs , ท่าเทียบเรือ 15 ท่า ปั้นจั่น 51 ตัว เป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่
2.  Terminal 2 : Capacity 6.5 Million TEUs, ท่าเทียบเรือ 8 ท่า ปั่นจั่น 32 ตัว
3.  Terminal 3 : Capacity 3.8 Million TEUs, ท่าเทียบเรือ 5 ท่า โดยเป็นท่าเทียบเรือกึ่งอัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมี
เครนท่าเรืออัตโนมัติ 19 ตัว, และมี Automated Rail-Mounted gantry yard Crane (ARMG) 50 ตัว และสามารถรองรับ
เรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่มีความจุเกิน 18,000 TEUs
4.  Terminal 4: อยู่ระหว่างการดำเนินการ (หาก Terminal 4 แล้วเสร็จ จะทำให้ท่าเรือ Jebel Ali มี Capacity รวมที่รองรับ
สินค้าได้ทั้งสิ้น 22.4 Million TEUs)
5.  General Cargo Terminal : รองรับสินค้าแบบ Bulk, Breakbulk และ Ro-Ro มีพื้นที่กว่า 1.4 ล้านตรม.ประกอบด้วยท่าเรือ
ทั้งสิ้น 27 ท่า มีความลึกของท่าเรือ 15 เมตร , ลานจัดเก็บรองรับรถยนต์ได้ 750,000 คัน บนพื้นที่ 16,200 ตรม.

จุดเด่นของท่าเรือ Jebel Ali port
1. มีการเชื่อมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือ Jebel Ali ไปยังท่าอากาศยาน Al Maktoum ซึ่งดูไบเป็น Multimodal
Transshipment port ที่มีการขนส่งสินค้ารวดเร็วที่สุดในโลก โดยสามารถเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากเรือ ไปสู่อากาศได้
ภายใน 4 ชม.
2. Jebel Ali Port ตั้งอยู่ภายใน Jebel Ali Free Zone (Jafza)  เป็นเขตปลอดอากรมีพื้นที่กว่า 57 ตารางกิโลเมตร และ
ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งก่อตั้งโดยรัฐบาล และ Jafza ดึงดูดธุรกิจด้วยการแบ่งภาษี สิทธิประโยชน์ที่กำหนดเองอาทิ ไม่กำหนด
ค่าแรงขั้นต่ำ ไม่มีข้อจำกัดที่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงทำให้ Jebel Ali เป็นท่าเรือที่หนาแน่นที่สุดใน
ตะวันออกกลางและเป็นแหล่งค้าสินค้าที่สำคัญของ UAE
3.  DP World ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่บริหารท่าเรือ Jebel Ali ได้จัดทำโครงการ World Logistics Passport (WLP) ซึ่งมี
การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ครอบคลุมในหลายทวีป ซึ่งสามารถใช้กลไกของ WLP ช่วยให้สินค้าไทย
ได้รับความสะดวกในการตรวจปล่อยที่เร็วขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ถูกลง รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าการ
ส่งออกไปยังตลาดลาตินอเมริกาและแอฟริกาซึ่งเป็นตลาดที่เข้าถึงยากได้เพิ่มมากขึ้น

Annual volume of all containers handles at Jebel Ali port (TEUs)

Source : statista.com

ตารางเปรียบเทียบท่าเรือ Jebel Ali VS Leam Chabang port

FacilityJebel Ali portLeam Chabang port
พื้นที่ 134 ล้าน ตรม.14 ล้าน ตรม.
ท่าเทียบเรือ (รวม General cargo)55 ท่า18 ท่า
Max Capacity TEUs (ถ้าสร้างเสร็จครบ)22.4 Million TEUs18 Million TEU
      – Now Capacity19.3 Million TEUs11 million TEUs
Container throughput 2021 13,777,823 TEUs 8,523,250 TEUs
      – Ranking1121
facility  
      – ปั่นจัน83 ตัว + 19 ตัว (automated)55 ตัว
      – Rail-Mounted gantry yard Crane50 (Automated)2
ความลึกร่องน้ำ 16 เมตร14-16 เมตร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *