ตามที่ กรมการค้าต่างประเทศ ได้ออก พ.ร.บ.การควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2562 มาเมื่อกลางปี 2562 โดยกำหนดให้ พรบ. มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองที่อยู่ภายใต้ พรบ. รวมถึงเร่งพัฒนาระบบการบริหารการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือที่เรียกว่า e-TCWMD (Thailand Consortium on Trade of Weapons of Mass Destruction) ควบคู่กันไป ซึ่งหลักการของ พรบ.หรือระบบดังกล่าวจะทำหน้าที่กำกับดูแลสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยาย WMD ให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมกิจกรรม Export Transit Transship Re-export Brokering และ Financing และครอบคลุมสินค้าที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้(Tangible / Intangible) เป็นต้น

โดย กรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดอบรมวิธีการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศควบคุมการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (e-TCWMD) และจัดสัมมนา รวมถึงทำ In-house สำหรับ Pilot project กับบริษัทนำร่อง ซึ่งมีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงหรือคาดว่าจะเข้าข่ายความเสี่ยงเป็นสินค้าที่สามารถใช้ได้สองทาง (Dual Use)  ซึ่งขณะนี้ พรบ. ดังกล่าว ยังไม่ได้มีการบังคับใช้ ส่วนหนึ่งมากจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่กระทบกับมูลค่การส่งออกไทยที่หดตัวลงมาก ทำให้กรมฯ อนุญาตเป็นการชั่วคราวให้มีการส่งออกได้ตามปกติไม่ว่าสินค้าของผู้ประกอบการจะเป็นสินค้า DUI หรือไม่ เพื่อไม่เป็นการสร้างอุปสรรคในการส่งออกช่วงเวลาปัจจุบัน และคาดว่ากฎหมายลำดับรองและระบบ e-TCWMD จะแล้วเสร็จและคาดว่าจะสามารถใช้งานได้จริงประมาณต้นปี 2564 นี้ 

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) จึงขอนำเรียนความคืบหน้าโครงการดังกล่าวในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ผู้ประกอบการส่งออกได้เตรียมความพร้อมและศึกษาทำความเข้าใจระบบที่ทางกรมการค้าต่างประเทศ ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ง่าย อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการส่งออกมากที่สุด และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเมื่อมีการใช้จริง โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้  

  1. ระบบ e-Classification
    1. ได้มีการพัฒนาระบบการตรวจสอบการเป็นสินค้าสองทาง (Dual use items : DUI) โดยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบข้อมูลการตรวจสอบสินค้าโดยในช่วงแรกเป็นการทอลองระบบยังไม่จำเป็นที่ต้องสมัครสมาชิก ด้วยการกรอกพิกัดอัตราศุลกากร (HS Code) ที่ค้นหาสูงสุดได้ 6หลัก ซึ่งจะอ้างอิงผ่านบัญชี Eu list 2019 และรหัสสารเคมี (CAS number) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถออกใบแสดงผลการจำแนกสินค้าสองทางได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นหลักฐานการยืนยันการตรวจสอบการเป็นสินค้าสองทางแก่ภาครัฐ กรณีที่สินค้าของผู้ประกอบการเป็นสินค้า DUI ต้องเข้าสู่กระบวนการทำ e- licensing หรือ e-catch all ในระบบเพื่อดำเนินการยื่นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ในขั้นตอนต่อไป 
  • e-licensing 
    • ระบบ e-licensing หรือระบบงานการขอใบอนุญาต มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ในการลงทะเบียนโดยระบบจะให้กรอกเพียงภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกประเภทใบอนุญาตได้ 2 แบบ คือ 1. การขออนุญาตเป็นรายครั้ง (Individual license) 2. การขออนุญาตรายปี (Bulk license) ทั้งนี้ กรอบระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารจากเจ้าหน้าที่กรมฯ จะใช้เวลาประมาณ 30 วันทำการ (ในระหว่างการตรวจสอบข้อมูลระบบจะไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการแก้ไขข้อมูลได้ ซึ่งหากกรณีมีการแก้ไขข้อมูลใหม่จะเริ่มนับระยะเวลา 30 วันจากวันที่แก้ไขข้อมูล) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานกว่าระบบ e-catch all เนื่องด้วยความซับซ้อนของระบบที่มากกว่า 
    • กรณีที่ใบอนุญาตแบบรายปีใกล้จะหมดอายุ ระบบจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้าให้เข้ามาขอต่อใบอนุญาตใหม่ 
    • ระบบ e – licensing ยังไม่มีกำหนดใช้งาน เนื่องด้วยต้องรอความเรียบร้อยของกฎหมายลำดับรองก่อน ทั้งนี้ อยู่ระหว่างพัฒนาคู่มือระบบ catch all control ควบคู่กัน 
  • ระบบ e-Catch all 
    • การทำ catch all control คือ การทำขั้นตอนการตรวจสอบประเมินผู้ซื้อสุดท้ายและผู้ใช้สินค้าคนสุดท้าย (End use / End user) ตลอดทั้งซัพพลายเซนของสินค้าที่เข้าข่ายความเสี่ยงเป็น DUI หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อนำช้อมูลการตรวจสอบประเมินดังกล่าวเข้ามารายงานในระบบ e-catch all ต่อไป  
    • ปัจจุบันระบบดังกล่าว ผู้ส่งออกสามารถเข้าไปลงทะเบียนขออนุญาตได้แต่จะต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากทางกรมฯ​ แล้วเท่านั้นจึงจะเข้ามาทำในระบบได้(การทำ e-catch all จะเป็นขั้นตอนที่เกิดการส่งออกเท่านั้น) ผู้ส่งออกสามารถจัดทำประเภทของใบอนุญาตแบบ e-Catch all ได้บริษัทละหนึ่งใบอนุญาตครั้งเท่านั้น อย่างไรก็ตามระยะเวลาการใช้งานของใบอนุญาตยังไม่ได้กำหนดชัดเจน  
    • ระยะเวลาการพิจารณาเอกสารจะใช้เวลาประมาณ 3 วันทำการ เนื่องด้วยความซับซ้อนที่น้อยกว่า ระบบ e-Licensing (ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการพิจารณาข้อมูลให้สั้นลงกว่าเดิมเพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการ)
    • ปัจจุบัน กรมฯ ให้ความสำคัญกับการทำ Catch all ภายใต้หลักการของ ICP measure 6 ข้อ เพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวเองก่อนในเบื้องต้น มากกว่าการทำ e-licensing ที่มีความซับซ้อนมากกว่า 
    • ระบบ e-catch all จะเริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการใช้ช่วงปี 2564 
  • ระบบ Internal Control Process: ICP
    • ระบบงาน ICP ภายใต้ระบบ e-TCWMD ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลักที่สำคัญโดยสอดคล้องกับระบบฯ สากล ดังนี้ (1) Commitment Management การให้คำมั่นสัญญาจากผู้บริหารสูงสุดของบริษัทว่าจะไม่ข้องเกี่ยวกับการแพร่ขยาย WMD (2) Trade Screening กระบวนการตรวจสอบสินค้า ลูกค้า และการใช้สุดท้ายว่าปลอดภัยและไม่เกี่ยวข้องกับ WMD (3) Training การจัดฝึกอบรมพนักงานภายในองค์กรเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-use Items: DUI) ตลอดจนแนวปฏิบัติต่างๆ (4) Record Keeping การจัดเก็บรักษาเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขาย DUI ของบริษัท เอกสารการขนส่งสินค้า หรือเอกสารการจัดฝึกอบรม เป็นต้น (5) Auditing การตรวจสอบภายในของบริษัทเพื่อให้มั่นใจว่าการควบคุม DUI เป็นไปตามที่กำหนด รวมทั้งการกำหนดมาตรการรองรับข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และ (6) Penalties and Reporting การกำหนดบทลงโทษกรณีการกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม DUI 
    • ในระยะยาวเอกชนต้องมี ICP (Internal Control Program) ในการคัดกรองของตนเองด้วย แต่ตอนนี้ยังเป็นโครงการภาคสมัครใจ สามารถขอสนับสนุนจากกรมฯ ในการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมการได้ (หากในอนาคตมีการบังคับตามมาตรา 13 วรรค 2 จะต้องมีการ audit องค์กรด้วย แต่การจะยกเว้นให้บริษัทใดจะต้องเข้าในมาตรา 3 เป็นรายบริษัท)
    • ผู้ประกอบการ สามารถทำ ICP ในแต่ละระดับ อาทิ 2/6, 4/6 หรือทำทั้งหมดก็ได้ เพราะยังเป็นภาคสมัครใจ แต่การทำ ICP จะทำให้การตรวจสอบตามCatch all control สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
    • กรมการค้าต่างประเทศ สนับสนุนผู้ประกอบการส่งออกที่มีความพร้อมเริ่มทำ in-house ภายในบริษัทโดยการจัดตั้งทีมเฉพาะเพื่อดำเนินตามหลักการICP ซึ่งอาจมาจากหลายฝ่ายในบริษัทเพื่อให้เห็นภาพความเชื่อมโยงของสินค้าทั้งหมดซึ่งอาจมีส่วนดส่วนหนึ่งเข้าข่ายความเสี่ยงได้ ทั้งนี้ หากกิจการใดที่สามารถพัฒนามาตรฐานของกิจการตนจนได้รับ ISO 28000 supply chain management อาจถือว่ามีการจัดการระบบ ICP ที่เกือบจะสมบูรณ์แล้วเหลือแค่ให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบและยืนยันอย่างเป็นทางการเท่านั้น
    • เร็วนี้ๆ กรมฯ จะเริ่มมีการทำ in-house เฉพาะเรื่องนี้อีกครั้ง โดยจะประกาศวันและเวลาให้ทราบอีกครั้ง
  • ประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติม
    • การตรวจสอบการเป็นสินค้า DUI สามารถตรวจสอบได้ทั้งกรณีเป็นสินค้าที่จับต้องได้และไม่ได้ อาทิ สินค้าในกลุ่มซอฟต์แวร์
    • การลงทะเบียน 1 บริษัทสามารถมีบัญชีได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น (ข้อมูลบางส่วนจะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) โดยบริษัทสามารถเพิ่มข้อมูลของผู้รับมอบอำนาจในการจัดการข้อมูลได้ แต่ผู้รับมอบอำนาจจะเห็นข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแค่เฉพาะส่วนของตน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลและเห็นข้อมูลการเปลี่ยนแปลงจากผู้รับมอบอำนาจได้ ทั้งนี้มีเพียงบริษัทเท่านั้นที่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ทั้งหมด
    • ในปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้มีการควบคุมกิจกรรมการนำเข้าสำหรับการตรวจสอบการเป็นสินค้า DUI แต่อย่างไรก็ตาม พรบ.TCWMD เปิดช่องไว้ให้สามารถใช้อำนาจในการควบคุมการนำเข้าได้แต่ต้องอาศัยการออกพระราชกฤษฎีกากำกับเพิ่มเติม
    • กรณีสินค้าของผู้ประกอบการไม่ได้เข้าข่ายการเป็นสินค้า DUI แต่มีความเกี่ยวกับประเทศที่อยู่ในมาตรการคว่ำบาตร (Sanction) ซึ่งในปัจจุบันมี 15 ประเทศ จะต้องตรวจสอบในเรื่องของ end use และ end user ด้วย อาทิ เกาหลีเหนือ เป็นต้น 

หมายเหตุ:

1. สมาชิก สรท. สามารถทดลองตรวจสอบรายการสินค้าของท่านว่าเข้าข่ายหรือเป็นสินค้า DUI หรือไม่ ได้ที่ test1.dft.go.th > คลิกที่คำว่า ค้นหา DUI

2. หรือสามารถเข้าไปทดลองระบบลงทะเบียนขอใบอนุญาตรูปแบบต่างๆ ได้ที่ test1.dft.go.th/etcwmd_iii/login โดยใส่ User: [email protected] และ Password: Dft001

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *